วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วิธีการเลี้ยงนกหงส์หยก



การเลี้ยงนกหงส์หยกเพื่อให้ได้ผลผลิตตามที่ต้องการหรือให้เกิดผลเสียหายน้อยที่สุดกับลูกนกที่จะเกิดมาถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญต้องเอาใจใส่รายละเอียดเล็กๆน้อยๆอย่างมากที่สุดด้วย  ทั้งนี้วิธีการต่างๆก็ต้องด้วยประสบการณ์ และการสังเกตลองผิดลองถูกในระยะเวลาพอสมควร เพราะการเลี้ยงดูลูกนกของพ่อ-แม่นกแต่ละคู่ แต่ละคอกก็แตกต่างกัน วิธีการที่ดีบางอย่างอาจจะใช้ได้ผลกับนกบางคู่ และเช่นกันวิธีการที่ดีเดียวกันนั้นก็มักจะใช่ไม่ได้ผลกับพ่อ-แม่นกคู่อื่นๆเลย  ทั้งนี้พฤติกรรมการเลี้ยงดูลูกนกของนกแต่ละตัวขึ้นอยู่กับหลากหลายปัจจัย เช่น สภาพแวดล้อม อากาศ อาหาร ความสมบูรณ์ของพ่อ-แม่นก และผู้เพาะเลี้ยงนกหงส์หยกก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการเลี้ยงนกหงส์หยกให้ได้ผลดีอย่างที่ต้องการหรือไม่
                  สภาพแวดล้อมในการที่จะทำการผลิตลูกนกให้ได้ผลดี ต้องมีมีการรบกวนจากสัตว์อื่นๆที่เป็นอันตรายกับนกหงส์หยก เช่น งู หนู แมลง ต่างๆ ขณะที่นกกำลังเข้าคู่ผสมพันธุ์หรือขณะดูแลเลี้ยงลูกนกอยู่ ทั้งนี้การจับนกเข้าคู่ที่ได้ผลดีที่สุด คือ การแยกเข้าคู่นกเพียงคู่เดียวต่อกรงเพาะนกหนึ่งคู่  จะให้ผลผลิตที่ดีและสมบูรณ์มากที่สุดกว่าการปล่อยนกบินในกรงรวม แล้วให้นกจับคู่ผสมพันธุ์กันเอง วิธีการนี้เหมาะสำหรับการเลี้ยงนกหงส์หยกเพื่อความเพลิดเพลิน หรือเลี้ยงประดับสวนเพื่อความสวยงามโดยไม่ต้องการให้นกขยายพันธุ์ไปมากมายนัก
                 อากาศที่เหมาะสำหรับการเพาะขยายพันธุ์นกหงส์หยกต้องเป็นอากาศที่อบอุ่นไม่ร้อนหรือหนาวมากเกินไป เพราะจะส่งผลเสียหายต่อการเพาะขยายพันธุ์นกหงส์หยกได้ จากประสบการณ์ที่ผ่านมาการเพาะพันธุ์นกหงส์หยกในฤดูหนาวน่าจะได้ผลผลิตที่ดีที่สุดคือในช่วงเดือน พฤศจิกายน ถึงเดือนมกราคม ซึ่งประเทศไทยถือว่ามีอากาศที่อบอุ่น อุณหภูมิไม่ติดลบ ก็จะได้ผลดีกับฟาร์มเพาะเลี้ยงที่อยู่ในอาคารบ้านเรือนแต่สำหรับบางฟาร์มที่เป็นที่โล่งแจ้งมีน้ำล้อมรอบก็ไม่เหมาะกับการเพาะพันธุ์ในฤดูหนาวนี้มากนัก เพราะลูกนกเมื่อใกล้ถึงกำหนดฟักเป็นตัว เมื่อเปลือกไข่เริ่มแตกออก อุณหภูมิภายนอกเข้าไปได้ทำให้ลูกนกหงส์หยกตายก่อนฟักออกเป็นตัวในอัตราการตายที่สูง ในทางกลับกันในช่วงฤดูร้อนเดือน เมษายน- กรกฎาคม เป็นช่วงที่ร้อนที่สุด สำหรับประเทศไทยทำให้ฟาร์มที่อยู่ในอาคารบ้านเรือนร้อนอบอ้าว พ่อ-แม่นกบางคู่ไม่สามารถกกไข่ให้ผลผลิตที่ดีในช่วงนี้ได้มากนักผิดกับฟาร์มที่อยู่ในที่โล่งแจ้ง และมีน้ำล้อมรอบเป็นบริเวณกว้าง หรือโรงเรือนกลางน้ำ จะทำ
ให้การเพาะขยายพันธุ์ได้ผลผลิตดี ดังนั้นการที่จะเข้าคู่ผสมพันธุ์นกหงส์หยกในช่วงอากาศใดก็ต้องดูความเหมาะสมด้วยถือเป็นการพัก พ่อ-แม่นกไปด้วย เพื่อให้นกมีสุขภาพ แข็งแรงสมบูรณ์ไม่โทรมจากการเพาะขยายพันธุ์ตลอดทั้งปี
                 อาหารและความสมบูรณ์ของพ่อ-แม่พันธุ์นกหงส์หยก สำหรับอาหารที่ใช้เลี้ยงนกหงส์หยกผู้เลี้ยงก็ต้องสังเกตและเอาใจใส่  ผสมสูตรอาหารเองตามความเหมาะสมเพราะนกที่จะนำมาทำพ่อแม่พันธุ์ต้องให้อาหารกับนกแล้วไม่ทำให้พ่อแม่พันธุ์อ้วนมากเกินไป เช่น ข้าวโอ๊ด เมล็ดทานตะวัน การออกกำลังกายของพ่อแม่พันธุ์นกเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่สุดด้วย  ก่อนการผสมพันธุ์แต่ละครั้งต้องให้พ่อแม่พันธุ์นกออกกำลังเสริมสร้างความสมบูรณ์ของกล้ามเนื้อ  แคลเซี่ยมประมาณ 2 เดือน พร้อมกับให้นกผลัดขนให้เรียบร้อยก่อนจับนกเข้าคู่ เมื่อพ่อแม่นกกำลังเลี้ยงลูกอาหารที่สำคัญ เช่นขนมปัง ข้าวโพดอ่อน โดยเฉพาะ ข้าวโอ๊ด ข้าวไรน์ ต้องให้ในอัตราส่วนมากขึ้นด้วย บางฟาร์มอาจจะให้อาหารเสริม จำพวก ซ๊อฟฟู้ด ก็จะเป็นสิ่งที่ดีกับลูกนกด้วยเช่นกัน
                      ผู้ทำการเพาะเลี้ยงนกหงส์หยกมีผลกระทบอย่างไรกับการผลิตลูกนก อาจจะกล่าวได้ว่าผู้เพาะเลี้ยงมีส่วนสำคัญอย่างมากคือ ต้องเป็นคนที่เอาใจใส่ดูแลและหมั่นสังเกตพฤติกรรมต่างๆของนกทำความสะอาดกรงเพาะ โรงเรือน ไม่รบกวน พ่อ-แม่พันธุ์นกซึ่งอาจจะทำให้นกเกิดความเครียดได้ เช่น นกไม่กกไข่ พ่อแม่จิกตีลูกตัวเอง ไม่ป้อนอาหารให้กับลูกนกเป็นต้น
                   การเอาใจใส่ดูแลลูกนกที่ให้ได้ลูกนกสมบูรณ์ มีอัตราการตายที่ลดลง โดยเบื้องต้นควรให้พ่อแม่นกเลี้ยงลูกนกไม่เกินคอกละ2 ถึง 3 ตัว ถ้ามากกว่านี้จะทำให้ลูกนกที่ได้มีโครงสร้างและความสมบูรณ์ไม่มีคุณภาพ กล่าวคือ เมื่อพ่อ-แม่พันธุ์นกที่ดีออกไข่แล้วไม่จำเป็นต้องให้พ่อ-แม่พันธุ์ที่ดีมีราคาแพงต้องฟัก และเลี้ยงลูกเองควรนำไข่ไปให้พ่อแม่นกมือปืนที่ไข่ในวันเวลาเดียวกัน รับไปฟัก และเลี้ยงดูลูกนกแทน  วิธีการนี้จะทำให้พ่อ-แม่พันธุ์นกที่ดีมีเวลาพักโดยส่วนมากจะให้พ่อ-แม่พันธุ์นก เข้าคู่ปีละประมาณ 4 ครั้ง โดยพักครั้งละ 3 เดือนในแม่พันธุ์นก ส่วนพ่อพันธุ์นกที่มีความสมบูรณ์แข็งแรงและเจริญพันธุ์ดี สามารถนำไปเข้าคู่ผสมพันธุ์กับแม่นกตัวอื่นๆได้เลย เพราะนกพ่อแม่พันธุ์ถ้าไม่ปล่อยให้เลี้ยงลูก ก็จะไม่ป่วยและไม่ทรุดโทรม ผิดกับแม่พันธุ์นกถ้ายิ่งให้เลี้ยงลูก หรือออกไข่ติดๆกันโดยไม่พักจะทำให้แม่นกตายได้เร็วกว่าที่ควรจะเป็นและได้ลูกนกที่ไม่มีคุณภาพด้วยซึ่งเป็นการเสียเวลา เสียค่าใช้จ่ายต่างๆอีกมากในการเลี้ยงลูกนกที่ไม่สมบูรณ์นั้น
                 การเลี้ยงลูกนกหงส์หยก ของพ่อแม่พันธุ์นกบางคู่จะไม่ค่อยสนใจเลี้ยงลูกนกเมื่อลูกนกมีอายุได้ 2-3 สัปดาห์พ่อแม่นกอาจจะไม่สนใจป้อนอาหารให้กับลูกของมันซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงที่ลูกนกต้องการอาหารอย่างมาก เพื่อการเจริญเติบโตผู้เพาะเลี้ยงต้องหมั่นสังเกตลูกนกว่า พ่อแม่นกป้อนลูกนกสมบูรณ์หรือไม่โดยจับลูกนกดูว่ากระเพาะลูกนกมีอาหารเต็ม  ลำตัว ขา ปีก อ้วนท้วนสมบูรณ์จับดูแล้วไม่ผอมแห้งถ้าลูกนกได้รับอาหารไม่เพียงพอผู้เพาะเลี้ยงควรป้อนอาหารสำหรับลูกนกเสริมในเวลาเย็น อีกครั้งหนึ่งก็จะเป็นการดี เพราะจะช่วยให้ลูกนกไม่หิวไปจนถึงเช้า และจะทำให้ลูกนกมีความสมบูรณ์แข็งแรงเพิ่มขึ้นด้วย  บางคู่เมื่อลูกนกมีอายุได้ 3 สัปดาห์ให้สังเกตพ่อหรือแม่นกป้อนลูกเก่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นพ่อนกที่ทำหน้าที่ได้ดีวิธีการนี้ให้นำแม่นกออกจากกรงเพาะปล่อยให้พ่อนกเลี้ยงลูกโดยลำพังจะทำให้พ่อนกสนใจลูกนกมากขึ้นป้อนอาหารได้สมบูรณ์เต็มที่ เพราะไม่มีแม่นกที่จะมาสนใจ ผสมพันธุ์ต่อไปและถือเป็นการพักแม่นกอีกวิธีหนึ่งด้วย








นกหงส์หยก

          นกหงส์หยก(Zebra Parakeet)
          ชื่อวิทยาศาสตร์ Melopsittacus Undulatus 
          ชื่ออื่นที่ใช้เรียกคือ Shell Parrot, Zebra Parakeet, Warbling Grass Parakeet, Undulated Parrot

ประวัติและความเป็นมา

          ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของ Budgerigar นั้นอาศัยอยู่ตามทุ่งหญ้าทั่วไปในออสเตรเลียปัจจุบันมักเรียกสั้นลงว่า บั๊ดจี้ส์ (Budgies) และ Parakeet ก่อนหน้ามีผู้เข้าใจ ว่านกนี้อยู่ในจำพวก Lovebird แต่ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่าเป็นคนละชนิดกัน ชื่อเรียก Budgerigar เป็นชื่อซึ่งเพี้ยนมาจากสำเนียงพื้นเมืองในออสเตรเลียที่เรียกว่าBetcherrygah แปลว่าอาหารดี หรือกินอร่อย บุคคลแรกที่ได้ศึกษาและนำเรื่องราวในฐานะเป็นนกใหม่ เป็นนักสัตวศาสตร์ชาวอังกฤษ ชื่อ กูลด์ (Gould) ซึ่งได้เข้าไปศึกษาชีวิตการเป็นอยู่ของสัตว์ต่างๆ ในออสเตรเลีย เมื่อ 110 ปีที่แล้ว

          ชนิดและสีของนกหงส์หยก สีขั้นพื้นฐานในปัจจุบันของนกหงส์หยกชนิดธรรมดาได้แก่ สีเขียว(Green) สีฟ้า(Blue) สีเหลือง(Yellow) และขาว สีที่กล่าวมาแต่ละสีมีชื่อเรียกแยกออกไปตามความอ่อนแก่ของ สี โดยแยกเป็นน้ำหนักสีคือ อ่อน , กลาง และ แก่

          นอกจากสีธรรมดาดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังมีอีก 3 ชนิดที่ควรทราบคือ

           โอแพล์ลิน (Opaline) ชนิดสีนี้มิได้กล่าวเจาะจงว่าเป็นสีใดโดยเฉพาะ แต่จะมีลักษณะเป็น ที่สังเกตุดังนี้ บนคอ ใต้คอ และตรงขอบปีกติดกับไหล่จะไม่มีลายหรือจุด และจะต้องมีสีเหมือนกับ สีของลำตัว สีพื้นของปีก(มีลาย) ก็มีสีประมาณเป็นสีเดียวกับลำตัวเช่นเดียวกัน (นกชนิดธรรมดา ตัวเขียวจะมีหัวเหลือง ใต้คอเหลือง มัจุด 6 จุด และพื้นปีกก็เป็นสีเหลือง)

           เผือก อัลบิโนส์ (Albinos) ลักษณะที่สังเกตคือ สีตลอดตัวจะประมาณได้เป็นสีเดียว เริ่ม ตั้งแต่ขาวปลอดทั้งตัวหรือมีสีค่อนไปทางสีฟ้า

           ลูติโนส์ (Lutinos)เป็นนกที่มีสีเหลืองปลอด หรือมีสีค่อนไปทางเขียวทั้ง 2 ชนิด คือขาว และเหลืองนี้ ลักษณะสำคัญที่เห็นได้ชัดคือต้องมี นัยน์ตาสีแดง

ลักษณะทั่วไป

          นกหงส์หยก เป็นนกที่มีขนาดเล็ก มีลวดลาย และสีสันที่สวยงาม และสามารถแยกออกเป็นหลายพันธุ์ในตระกูลเดียวกัน นกหงษ์หยกเป็นนกที่ชอบแต่งตัวและรักสะอาด ชอบแต่งขนหน้ากระจก เราควรมีกระจกให้แก่นกด้วย โดยให้กระจกเหมาะสมกับจำนวนของนก บางครั้งเราควรที่ใช้ฟร็อคกี้ หรือ ที่ฉีด ฉีดน้ำให้เป็นฟอยๆกระจาย นกจะมาเล่นน้ำเพื่อทำความสะอาดขน และก็จะแต่งขน ซึ่งจะทำให้นกมีขนที่สวยงาม

การดูเพศนก

          การดูเพศของนกนั้นไม่ยากเลย สามารถที่จะสังเกตได้ ไม่ยาก โดยดูที่จมูกของนก ในนกตัวผู้เมื่อเจริญเต็มที่หรือพร้อมที่จะผสมพันธุ์ จมูกนกจะเป็นสีฟ้าเข้ม และในนกตัวเมียนั้นจมูกของนกเมื่อเจริญเต็มที่หรือพร้อมที่จะผสมพันธุ์ จมูกของนกจะมีสีออกเป็นสีเนื้อหรือสีน้ำตาลเข้ม สีดังกล่าวจะ เข้มขึ้นเรื่อยๆเมื่ออยู่ในระยะผสมพันธุ์

          นกหงษ์หยกจะจับคู่เมื่อมันพร้อมที่จะผสมพันธุ์ โดยสังเกตได้จาก นกอยู่กันเป็นคู่ ไซร้ขนให้กัน จะคอยป้อนอาหารให้กัน

การเลี้ยงดู

          นกหงส์หยกสามารถเลี้ยงดูได้ง่าย ส่วนมากนิยมเลี้ยงกันในกรงขนาดใหญ่พอที่ นกสามารถบินได้ และต้องมีขนาดให้พอเหมาะกับจำนวนของนกด้วย ตำแหน่งการตั้งกรงนั้นไม่ควร ตั้งไว้ในที่ๆมีอากาศร้อน หรือที่มีลมโกรกมาก ควรไว้ในที่ๆ มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก อาหารและน้ำของต้องมีให้นกกินทุกวัน และควรเปลี่ยนอาหารและน้ำทุกวัน เพราะถ้าไม่เปลี่ยนอาจเป็นแหล่งเพราะโรค ของนกได้

          โดยธรรมชาติ นกหงส์หยกจะอยู่รวมกันเป็นฝูง ฉะนั้นถ้าเลี้ยงรวมในกรงใหญ่ เครื่องเล่นต่างๆอาจ ไม่จำเป็น แต่ถ้าเลี้ยงเพียงตัวเดียวหรือคู่เดียว เครื่องเล่นต่างๆก็ไม่อาจมองข้าม นอกจากอุปกรณ์เช่น ถ้วย หรือจานสำหรับใส่อาหาร น้ำ ผัก ทราย ที่ทุกกรงจะขาดไม่ได้และควรมี  Clofood (อาหารที่มีส่วนผสมของขนมปัง ไข่ และธาตุที่มีประโยชน์อื่นๆ)

อาหารของนกหงส์หยก

          ข้าวฟ้าง คืออาหารหลักของนกหงษ์หยก ซื้อได้ตามร้านค้าทั้วไปปัจจุบันอยู่ที่ ราคาประมาณ ถุงละ 20 บาท เป็นเมล็ดพืชเมล็ดเล็กๆ ควรซื้อแบบที่แบ่งขายใส่ถุง มากกว่า เพราะจะทำให้อาหารดูสด และป้องกันฝุ่นได้

          เมล็ดกวด แคลเซียม(กระดองปลาหมึก) เป็นสิ่งสำคัญสำหรับนกเลยทีเดียว จากประสบการณ์ของผู้เขียน คิดว่าสำคัญมากเพราะเมล็ดกวดหรือแคลเซียม(กระดองปลาหมึก)จะช่วยย่อยอาหาร ในลูกนกถ้าขาดของพวกนี้อาจจะมีอาการผิดปกติ ไม่แข็งแรง หรือตายได้ เมล็ดกรวด อาจจะนำมาจากทรายก็ได้แต่ควรล้างด้วยน้ำสะอาดเสียก่อน แคลเซียม(กระดองปลาหมึก) อาจจะหาซื้อได้ในร้านที่ขายนกร้านใหญ่ หรืออาจจะหาซื้อได้ที่ตลาดนัดสวนจตุจักร ราคาไม่หน้าแพงมาก ขายอยู่ที่ราคาประมาณ อันละ 5 บาทซึ่งมีขนาดใหญ่

          ผักใบเขียว เป็นตัวบำรุง นกที่สำคัญ เช่น กระหล่ำดอก คะน้า ผักกาดเขียว ผักบุ้ง เป็นต้น และต้องล้างให้สะอาดด้วยเพื่อป้องกันยาฆ่าแมลง

          น้ำ เป็นสิ่งสำคัญที่สุด ที่นกจะขาดไม่ได้เลย ควรเปลี่ยนน้ำทุกวัน เพราะถ้านกที่เป็นโรคขี้ลงไปอาจทำให้เป็นที่เพาะเชื้อโรค ถ้านกตัวอื่นกินเข้าไปอาจพากันติดกันหมดทั้งกรงได้

วิธีการเลี้ยงนกแก้ว


ตามหลักอนุกรมวิธาน จัดนกแก้วอยู่ในอันดับนกแก้ว หรือ Order Psittaciformes มีการกระจายพันธุ์ในเขตป่าร้อนทั่วโลกรวม ๓๕๘ ชนิด
ประเทศไทยพบ ๗ ชนิดใน ๓ สกุล ได้แก่ นกหกใหญ่ นกหกเล็กปากแดง นกหกเล็กปากดำ นกแก้วโม่ง นกกะลิง นกแก้วหัวแพรและนกแขกเต้า อาศัยและหากินบนต้นไม้ กินผลไม้และเมล็ดพืช บินได้ดีและเร็ว มักพบอยู่เป็นคู่หรือฝูง ร้องเสียงแหลม ทำรังตามโพรงไม้ ไข่สีขาวค่อนข้างกลม วางไข่ ๒ – ๖ ฟอง ปละ ๑-๒ ครอกลูกนกแรกเกิดไม่มีขน มีสภาพเป็นลูกอ่อน ตาปิดเดินและช่วยตนเองไม่ได้ ต้องได้รับการดูแลจากพ่อและแม่นกอย่างใกล้ชิด

พ่อแม่นกในธรรมชาติจะวางไข่และฟักในโพรงไม้ซึ่งมีทางเข้า-ออกทางเดียว เมื่อลูกนกออกมาจากไข่ก็จะขย้อนอาหารออกมาจากกระเพาะพักของตนเองให้กิน โดยผลัดกันเลี้ยงตลอดวัน ลูกนกที่อายุน้อยจะได้รับการป้อนอาหารเกือบทุกชั่วโมง และเมื่อลูกนกเติบโต ระยะเวลาระหว่างมื้อจะค่อย ๆ ห่างขึ้น จนถึงระยะเวลาหยุดป้อนที่อายุประมาณ ๓๕ เดือน (ขึ้นกับชนิดของนกนั้นๆ ถ้านกแก้วขนาดเล็กจะหย่าปอนก่อนนกแก้วขนาดใหญ่ ซึ่งอาหารส่วนใหญ่จะเป็นผลไม้และเมล็ดพืชป่าชนิดต่างๆ จากนั้นลูกนกก็จะปีนออกมาที่ปากรังเพื่อเริ่มหัดบิน โดยพ่อแม่นกจะหยุดป้อนอาหารหรือป้อนน้อยมาก จนลูกนกทนหิวไม่ไหว และในที่สุดก็ต้องบินตามพ่อแม่ไปหากิน ต่อไปจะกล่าวถึงการดูแลลูกนกแก้วและปัญหาที่พบได้บ่อย ในช่วงอายุตั้งแต่  วันถึงหยุดป้อนอาหาร

การดูแลลูกนกแก้วโดยมนุษย์ มีข้อมูลที่ท่านเจ้าของต้องทราบข้อมูลที่ถูกต้องและลงในรายละเอียดดังนี้
 สิ่งแวดล้อม ที่ลูกนกอยู่ไม่ว่าจะเป็นในโพรงรังที่พ่อแม่เลี้ยงเองว่ามีการเปลี่ยนสิ่งปูรองหรือไม่ เพราะรังที่สกปรกจะทำให้ลูกนกป่วยได้ง่ายมาก หรือรังที่พ่อแม่นกใช้มานานจนเก่าผุพังน้ำรั่ว หรือมีแมลงสาบ หนูบ้านเข้าไปได้หรือไม่ เพราะเหล่านี้จะพาโรคและอันตรายเข้าไปสู่ลูกนกได้ แต่ถ้าเก็บไข่มาฟักเองเราก็ต้องดูความสะอาดของห้อง เลี้ยงลูกนกแออัดเกินไปหรือไม่ ทำความสะอาดเป็นประจำหรือไม่ เคยมีโรคระบาดหรือไม่ ตู้อบลูกนกก็ต้องมีการเช็ดทำความสะอาดหรืออบฆ่าเชื้อ อย่างน้อยปีละ ๓ ครั้ง กรงต้องมีการทำความสะอาดทุกวัน อุณหภูมิห้องเลี้ยงและตู้อบไม่ควรจะต่ำกว่า ๓๐-๓๖ องศาเซลเซียส เพราะทำให้ลูกนกอบอุ่นและเติบโตได้ดีไม่ป่วยง่าย ความชื้นในตู้อบลูกนกก็ต้องอ้างอิงตาม สายพันธุ์ของนกชนิดนั้นๆแต่โดยปกติไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๖๐
 วันที่ลูกนกจะเปิดเปลือกตา จะแตกต่างกันตามสายพันธุ์ เช่น ในนกแก้วมาคอว์ประมาณ ๑๔-๒๘ วันนกกระตั๊ว ๑๐- ๒๑ วันและนกแก้ Amazon ๑๔-๒๑ วัน ส่วนช่องหูนกส่วนใหญ่จะเปิดมาตั้งแต่ฟักจากไข่แต่ในนกแก้วมาคอว์ผิวหนังบริเวณส่วนหูจะเปิดเมื่ออายุประมาณ ๒๓ วัน
 สิ่งปูรอง ต้องสะอาด ความสามารถในการดูดซับของเสีย ความสะดวกในการซื้อหาต้องมีขายตลอดปี ลูกนกชอบหรือไม่อันนี้ผู้เลี้ยงต้องสังเกตเอาเอง ราคาต้องไม่สูงมากเกินไปเพราะต้องใช้ตลอดปี

 เครื่องมือในการเลี้ยง ถังเลี้ยงต้องเป็นพลาสติกเพราะทำความสะอาดได้ง่าย ช้อนสแตนเลสดีที่สุด ไม่แนะนำพลาสติกเพราะจะเป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรีย กระบอกฉีดยาควรเตรียมไว้เป็นจำนวนมาก เพราะต้องเปลี่ยนใหม่ทุก ๑-๒ สัปดาห์ สายป้อนอาหาร ที่นิยมกันคือใช้ยางไส้ไก่ จักรยาน แต่มักหลุดเข้าไปในกระเพาะพักของลูกนก จนต้องลำบากให้สัตวแพทย์ผ่าออกอยู่เสมอ ในปัจจุบันมีสายป้อนอาหารขนาดใหญ่และสะดวกต่อการป้อนอาหารลูกนกมาก เทอร์โมมิเตอร์ใช้วัดทั้งอุณหภูมิอาหารและอุณหภูมิห้องเลี้ยงลูกนกน้ำยาฆ่าเชื้อเลือกที่สามารถฆ่าได้ทั้งแบคทีเรีย เชื้อราและไวรัสได้ และที่สำคัญสามารถใช้สัมผัสตัวลูกนกได้ซึ่งมีให้เลือกหลายยี่ห้อ เครื่องทำความร้อนหรือกาต้มน้ำร้อนไฟฟ้า ใช้อุ่นน้ำให้ร้อนอยู่ตลอดเวลาไว้ชงอาหารลูกนก ตาชั่งใช้ชั่งอาหารตามสัดส่วนความเข้มข้นที่กำหนดไว้และชั่งลูกนกเพื่อจดบันทึกการเติบโตทุกวัน

 อาหาร เป็นที่ทราบกันดีว่าอาหารต่างประเทศดีกว่าของไทยมาก คุณภาพขึ้นกับราคา น้ำจะใช้น้ำประปามาต้ม เพื่อชงอาหารป้อนลูกนก แต่ถ้าใช้น้ำบาดาลควรต้มหรือผ่านเครื่องกรองให้ดีเสียก่อนนำมาใช้ ส่วนวิตามิน อาหารเสริมอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นผลไม้หรือผักสดชนิดต่างๆ ก็สามารถนำมาป่นและผสมกับอาหารป้อนลูกนกได้



 อาหารทั่วไปสำหรับเลี้ยงนกแยกออกเป็นชนิดต่างๆได้ดังนี้ 

1. เมล็ดข้าวชนิดต่างๆ ซึ่งมีส่วนผสมของเมล็ดทานตะวัน, ข้าวโอ๊ท, ข้าวสาลี, เมล็ดกัญชา, เมล็ดข้าวโพด, ถั่วลิสง, และเมล็ดข้าวอื่นๆที่กระเทาะเปลือกแล้ว 

2. ผลไม้ต่างๆ เช่น แอ๊ปเปิ้ล, กล้วย, องุ่น, ส้ม และผมไม้มุกชนิด 

3. อาหารจำพวกผักสด เช่น หัวมันเทศ, หัวผักกาด, หัวแคร์รอท, ผักโขม, หรือผักจำพวกกระหล่ำปลี, และผักในสวนครัวชนิดอื่นๆ 

4. กระดองปลาหมึก, ทราย 

5. ไข่, และขนมปังทุกชนิด ซึ่งทำชึ้นจากข้าวชนิดต่างๆ

วิธีการดูแลนกกรงหัวจุง



อาหาร

ในตอนเช้า เปิดผ้าคลุมกรงนกออก แล้วเปลี่ยนอาหารให้นกกินใหม่ โดยการผ่ากล้วยน้ำว้าสุก มะละกอสุก มะเขือเทศสุก ลูกตำลึงสุก แตงกวา บวบ ออกเป็นครึ่งลูก หรือทำเป็นชิ้น ๆ ถ้าเป็นลูกตำลึงลุกก็ให้ทั้งลูกเลย การให้อาหารควรจะสลับกันไปวันละ 2 ชนิด เพื่อกันไม่ให้นกเบื่ออาหาร สำหรับอาหารเม็ดก็ใส่ไว้ในถ้วยอาหาร อาจจะไม่ต้องให้ทุกวัน

สังเกตดูขี้นก

ในตอนเช้า เมื่อเปิดกรงนกหัวจุก ให้สังเกตดูขี้นก หากขี้นกเป็นแบบขี้จิ้งจก คือเป็นเม็ดสีขาวดำ แสดงว่านกเป็นปกติ แต่ถ้าขี้นกเป็นขี้เหลว หรือขี้เป็นน้ำ ก็แสดงว่านกเป็นโรคต้องรีบรักษาทันที

น้ำ

ให้เอาน้ำเก่าทิ้งไป แล้วเอาน้ำใหม่ใส่ให้เกือบเต็มถ้วย เพราะน้ำเก่าอาจจะสกปรก

นำนกกรงหัวจุกไปตากแดด

ในตอนเช้าผู้ที่เลี้ยงนกกรงหัวจุกจะต้องรู้วิธีการยกกรงนกไปแขวน โดยมีวิธีการยกคือ มือหนึ่งจะต้องหิ้วที่ตะขอกรงนก เมื่อไปถึงชายคาบ้าน หรือราวที่จะแขวนกรงนก หรือกิ่งไม้ หรือราวที่ฝึกซ้อม และราวที่จะแขวนนกประกวดแข่งขันแล้ว ก็ใช้มือข้างที่ถนัดจับที่มุมกรงมุมใดมุมหนึ่งที่เป็นเสากรง เพราะซี่ลูกกรงจะบอบบางไม่แข็งแรงและหัดได้ จากนั้นก็ยกกรงนกขึ้นชู โดยดูที่ตะขอแขวนนกว่าตรงกับที่แขวนหรือราวแล้วหรือยัง ถ้าตรงกบที่แขวนและราวแล้ว ก็ให้ปล่อยมือลง 
ข้อควรระวัง อย่าแขวนนกที่มีอายุน้อยใกล้กับนกที่มีอายุมาก ซึ่งนกที่มีอายุมากจะข่มขู่นกที่มีอายุน้อยกว่า เพราะนกสามารถจะจำเสียงได้ และจะตื่นแล้วการที่จะนำนกไปแขวนไว้นี้ เพื่อให้นกได้กระโดดไปมาออกกำลังกาย และเพื่อให้นกร้อง จนถึงตอนบ่าย จึงจะเก็บนกไว้ในที่ร่มต่อไป ถ้าเป็นลูกนกและนกหนุ่ม ค่อย ๆ เพิ่มเวลาแขวนตากแดดวันละ 1 ชั่วโมง เป็นวันละ 2 ชั่วโมง และตากแดดไว้นานขึ้นจนนกเคยชิน เพราะเวลานำนกกรงหัวจุกเข้าประกวดแข่งขันต้องใช้เวลา 5-6 ชั่วโมง กว่าจะประกวดเสร็จ เพราะนกต้องตากแดดตลอดเวลาการประกวด

เก็บนกไว้ในที่ร่ม

หลังจากให้นกตากแดดตั้งแต่ตอนเช้าจนถึงตอนบ่าย ก็ให้เก็บนกและกรงนกไว้ในที่ร่ม ให้ทำความสะอาดกรง และอื่นๆ ดังนี้ 

  • 1. ทำความสะอาดกรงนก โดยเปลี่ยนตัวนกกรงหัวจุกไปไว้กรงอื่นเป็นการสอนนกไม่ให้เลือกกรงและเคยชิน ต่อการเปลี่ยนกรง จากนั้นก็ให้ทำความสะอาดกรงนกที่เห็นว่าสกปรก ถ้ากรงนกสะอาดดีแล้วก็ไม่ต้องทำความสะอาด
  • 2. ทำความสะอาดตะขอที่เกี่ยวอาหาร
  • 3. ทำความสะอาดถ้วยใส่น้ำ
  • 4. ทำความสะอาดถ้วยใส่อาหารเม็ด
  • 5. ล้างถาดรองขี้นกใต้กรง
  • 6. ให้อาหารและน้ำนกเหมือนเดิม
  • 7. ให้นกอาบน้ำ เมื่อนำนกไปเก็บไว้ในที่ร่ม ก็ให้นำกล่องพลาสติกหรือขันอาบน้ำใส่ไว้ในกรง ใส่น้ำลงไป นกก็จะอาบน้ำเอง ถ้านก ตัวไหนไม่ชอบอาบน้ำ ก็จะใช้ขวดแบบสเปรย์ฉีดน้ำเป็นฝอยให้ทั่วตัวนก จากนั้นนกก็จะเคยชินและอาบน้ำเองได้ เมื่อนกอาบน้ำเสร็จก็จะไซร้ขน เพื่อทำให้ขนสะอาดและแห้งไม่คันตัว แล้วก็เทน้ำที่ขันอาบน้ำนกทิ้งไป แล้วคว่ำขันลง ทิ้งขันอาบน้ำนี้ไว้ในกรง นกเมื่อได้อาบน้ำแล้วจะมีความสุข มีอารมณ์ดีแจ่มใส และร้องเพลงได้ดีเหมือนคนคือถ้าได้อาบน้ำก็จะรู้สึกสบายตัว
  • 8. ให้นำนกไปแขวนไว้ที่ชายคาบ้าน หรือราว หรือกิ่งไม้ไว้เหมือนเดิม ในช่วงเวลาประมาณ 15.00-16.00 น. ซึ่งจะเป็นแดดอ่อน ๆ ไม่แรงมากนัก ให้นกได้ตากแดดในช่วงเข้าและช่วงเย็น เพราะแสดงแดดมีวิตามินดีทำให้กระดูกของนกแข็งแรง และเพื่อให้นกขนแห้งสนิทเมื่อได้ตากแดดขนก็จะฟูสวยงามเป็นเงาและไม่คันตัว กรงนกก็จะแห้งและไม่ขึ้นรา อายุการใช้งานของกรงก็นานขึ้น
  • 9. หลังจาก 16.00 น. ในช่วงใกล้ค่ำ ให้เก็บนกเข้าบ้าน ปิดผ้าคลุมกรงนกจะได้หลับพักผ่อน เวลานกนอนจะชอบความสงบ ไม่ชอบให้มีเสียงรบกวน





  เรื่องราวของนกกรงหัวจุกในฉบับที่แล้วซึ่งได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องราวทั่วๆ ไปของนกกรงหัวจุก ต่อไปก็ขอเข้าเรื่องของการดูแลเลี้ยงดูนกกรงหัวจุกว่ามีความยากง่ายเพียงไรครับนกกรงหัวจุกเป็นนกที่มีอายุยืน นกที่เลี้ยงอาจมีอายุยืนถึง 18 ปี การเลี้ยงนกกรงหัวจุกต้องมีวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ประกอบการเลี้ยง ซึ่งได้แก่ กรงของนกกรงหัวจุก มีทั้งกรงรวมซึ่งเป็นกรงขนาดใหญ่สำหรับพักนกที่จับมาขาย หรือเป็นกรงสำหรับให้นกบินออกกำลังกาย กรงเลี้ยงแบบธรรมดา กรงให้นกผลัดขน และกรงที่นำไปแข่ง ถ้วยใส่น้ำ ถ้วยใส่อาหาร ที่รองถ้วยน้ำถ้วยอาหาร ห่วงกลม สำหรับให้นกกระโดดเกาะ ตะขอแขวนผักผลไม้ ใช้ติดในกรงนก 2 อันต่อ 1 กรง คอนเกาะ ผ้าคลุมกรงนก เพื่อไม่ให้นกตกใจต่อสิ่งรอบข้างที่แปลกใหม่ ป้องกันไม่ให้ลมโกรกถูกตัวนก หรือป้องกันไม่ให้ศัตรูมาทำร้าย ถาดรองขี้นก หัวกรง ตะขอแขวนกรง ตุ้มขากรง ขันสำหรับให้นกอาบน้ำในกรง



สำหรับวิธีการเลี้ยงนกกรงหัวจุกระยะต่างๆ มีดังนี้             การเลี้ยงดูลูกนกเกิดใหม่ ลูกนกที่เกิดใหม่ มีวิธีการให้อาหารคือ 1. อาหารลูกไก่ทำให้ละเอียด 2. กล้วยน้ำว้าเละ 3.หนอนนก

            การป้อนอาหารจะป้อนสลับกันไป ถ้าหากลูกนกยังร้องอยู่ก็แสดงว่าลูกนกยังไม่อิ่ม ให้
ป้อนอาหารจนกว่าลูกนกจะหยุดร้อง หรือดูว่าลูกนกกินอาหารมากพอสมควรแล้วก็หยุดป้อน
นอกจากป้อนอาหารแล้ว ต้องป้อนน้ำและหัดให้ลูกนกกินอาหารเองบ้าง จนอายุ 15 - 20 วัน ขึ้นไป
ก็สามารถแยกลูกนกไปไว้ในกรงเดี่ยว และให้แขวนใกล้ลูกนกตัวอื่นๆ เพื่อไม่ให้ลูกนกตื่นกลัว
การเลี้ยงดูลูกนกในกรง ลูกนกในกรงเริ่มกินอาหารเองได้แล้ว และมีสุขภาพแข็งแรง เมื่ออายุได้
ประมาณ 40 วัน ขนจะขึ้นทั่วตัว สีขนของนกจะเปลี่ยนเป็นสีเทา เมื่อนกอายุได้ 100 - 120 วันขึ้นไป นกจะเริ่มผลัดขน ขนจะเปลี่ยนเป็นสีขาวสีน้ำตาล ต่อมาจะมีขนแดงใต้ตาและมีแก้มสีขาว มีแถบดำที่เรียกว่าสร้อยคอ ขนใต้หางจะเปลี่ยนเป็นสีแดงส้ม ระยะนี้ต้องให้อาหารนกกินให้สมบูรณ์
การเลี้ยงนกหนุ่ม เมื่อนกกรงหัวจุกผลัดขนจนเป็นนกหนุ่มที่สมบูรณ์แล้ว ส่วนต่างๆ ของร่างกายจะแข็งแรงเจริญเติบโตและสมบูรณ์ดี ช่วงอายุนกหนุ่มขึ้นไปจะมีการผลัดขนปีละ 1 ครั้งขึ้นไป ขณะผลัดขนควรจะนำนกไปไว้ในกรงผลัดขน ซึ่งกรงจะใหญ่กว่ากรงเลี้ยงธรรมดา หรืออาจปล่อยไว้ในกรงพักนกใหญ่ก็ได้ ในช่วงผลัดขน นกจะไม่ร้องถ้าร้องก็ร้องเพียงเล็กน้อยจนกว่าจะผลัดขนหมดจึงจะเริ่มร้อง นกหนุ่มจะร้องเพลงได้เมื่อมีอายุประมาณ 1 ปี  การเลี้ยงนกกรงหัวจุกที่อ้วน เมื่อเริ่มเลี้ยงใหม่ๆ มักจะให้อาหารแก่นกเป็นอย่างดี เพราะนกเมื่อได้มาใหม่จะผอม จึงเป็นสาเหตุให้นกอ้วนเกินไป ส่งผลให้นกขี้เกียจกระโดดออกกำลังกาย ขี้เกียจร้อง ดังนั้น จึงต้องลดความอ้วนของนกลง โดย
การให้อาหารให้น้อยลงโดยเฉพาะอาหารพวก กล้วยน้ำว้า อาหารเม็ด และหนอนนก เพราะอาหารพวกนี้จะมีโปรตีนแลไขมันสูง ควรงดการให้สักระยะหนึ่งจนกว่านกจะผอมลง ต้องให้อาหารจำพวก มะละกอสุก ลูกตำลึงสุก เพื่อให้นกถ่ายอุจจาระบ่อยๆ และให้นำนกไปตากแดดมากขึ้น
อาหาร นกกรงหัวจุกชอบกินผลไม้และพืชผักเป็นหลัก นอกจากนี้ยังชอบกินหนอน ตั๊กแตน และแมลงอื่นๆ ซึ่งเป็นอาหารโปรตีน เพื่อทำให้ร่างกายเจริญเติบโต หากเป็นอาหารเม็ด ควรใช้อาหารลูกไก่เพราะจะมีโภชนาการครบถ้วน

อาหารต่างๆ มีดังนี้
          ผลไม้ ได้แก่ กล้วยน้ำว้าสุก มะละกอสุก ส้มเขียวหวาน ฝรั่งสุก มะม่วงสุก พุทราสุก
พืชผัก ได้แก่ ลูกตำลึง มะเขือเทศ แตงกวา พริกขี้หนูแดง บวบ
หนอนและแมลง ได้แก่ หนอนนก ไข่มดแดง ปลวก จิ้งหรีด ตั๊กแตน แมลงเม่า เป็นอาหารโปรตีน ทำให้นกเจริญเติบโตได้เร็ววันที่ 15 - 21 กันยายน 2551 อาหารเม็ด ใช้อาหารสำหรับลูกไก่ ควรเสริมให้นกกินเป็นบางครั้งบางคราว ผู้เลี้ยงควรเปลี่ยนอาหารสลับกันไปเช่น เป็นผลไม้บ้าง พืชผักบ้าง หนอนนกบ้าง และอาหารเม็ดบ้างใบพืช ได้แก่ ใบมะขาม ใบผักหวาน ใบตำลึงเมล็ดพืช เช่น เมล็ดธัญพืช เมล็ดทานตะวัน เมล็ดเกาลัด และพวกถั่ว เป็นต้น

 อาหารพิเศษ ใช้เป็นอาหารเสริมจากอาหารหลัก เพื่อให้นกมีความแข็งแรงสมบูรณ์ คึกคัก หรือช่วยรักษาอาการ
ป่วย ปกติจะให้อาหารเสริมแก่นกตัวพิเศษที่เลี้ยงไว้แข่งขัน เช่น ข้าวสวยสุกผสมแกงส้มภาคใต้ พริกสดแช่น้ำผึ้ง กระดองปลาหมึก ทราย แท่งไอโอดีน วิตามิน เป็นต้น

      อาหารผสม เป็นอาหารจำพวกเมล็ดพืชผสม มีความหลากหลายของสารอาหาร เช่น คาร์โบไฮเดรต ไขมันโปรตีน วิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ซึ่งจะมีส่วนผสมของถั่ว ผักและผลไม้แห้ง และควรเสริมด้วยผักและผลไม้ให้นกด้วยการให้อาหาร ควรให้อาหารเป็นเวลา อย่าให้พร่ำเพรื่อหรือหลายอย่างพร้อมกัน เพราะถ้านกกินอิ่มมากเกินไปจะทำให้ท้องเสีย ควรให้นกกินอาหารหลากหลายชนิดจนเกิดความเคยชินการให้น้ำ ควรมีน้ำที่สะอาดให้นกอย่างเพียงพอตลอดเวลาวิธีการดูแลนกกรงหัวจุกในตอนเช้า ให้เปลี่ยนอาหารนก โดยผ่ากล้วยน้ำว้าสุก มะละกอสุก มะเขือเทศสุก ลูกตำลึงสุก แตงกวา บวบออกเป็นครึ่งลูก หรือทำเป็นชิ้น ๆ ถ้าเป็นลูกตำลึงสุกก็ให้ทั้งลูก การให้อาหารควรจะสลับกันไปวันละ 2 ชนิด เพื่อกันไม่ให้นกเบื่ออาหาร สำหรับอาหารเม็ดก็ใส่ไว้ในถ้วยอาหาร อาจไม่ต้องให้ทุกวันเมื่อเปิดกรงนกหัวจุก ให้สังเกตดูขี้นก หากขี้นกเป็นแบบขี้จิ้งจก คือเป็นเม็ดสีขาวดำแสดงว่าปกติ แต่ถ้ามีลักษณะเหลว หรือเป็นน้ำ ก็แสดงว่านกป่วยต้องรีบรักษาทันทีการให้น้ำ ให้เปลี่ยนน้ำใหม่ใส่ให้เกือบเต็มถ้วย เพราะน้ำเก่าอาจจะสกปรกการนำนกกรงหัวจุกไปตากแดด เพื่อให้นกได้กระโดดไปมาออกกำลังกาย และเพื่อให้นกร้อง ให้ตากแดดตั้งแต่
ตอนเช้าจนถึงตอนบ่าย
           
ข้อควรระวัง คือ อย่าแขวนนกที่มีอายุน้อยใกล้กับนกที่มีอายุมากเพราะจะถูกข่มขู่ ลูกนกและนกหนุ่ม ควรค่อย ๆ เพิ่มเวลาแขวนตากแดดวันละ 1 ชั่วโมง เป็นวันละ 2 ชั่วโมง และตากแดดไว้นานขึ้นจนนกเคยชิน เพราะเวลานำนกกรงหัวจุกเข้าประกวดแข่งขันต้องใช้เวลา 5 - 6 ชั่วโมง ในการประกวด ซึ่งนกต้องตากแดดตลอดเวลา หลังจากให้นกตากแดดตั้งแต่เช้าจนถึงบ่าย ก็ให้เก็บนกและกรงนกไว้ในที่ร่ม ทำความสะอาดกรง ตะขอที่เกี่ยวอาหาร ถ้วยใส่น้ำถ้วยใส่อาหารเม็ด ล้างถาดรองขี้นก ให้อาหารและน้ำนกเช่นเดิม ให้นกอาบน้ำ โดยนำขันอาบน้ำใส่ไว้ในกรง ใส่น้ำลงไป
นกก็จะอาบน้ำเอง ถ้านกตัวไหนไม่ชอบอาบน้ำ ก็จะใช้สเปรย์ฉีดน้ำเป็นฝอยให้ทั่วตัวนก เสร็จแล้วเทน้ำที่ขันอาบน้ำนกทิ้งแล้วคว่ำขันลงทิ้งไว้ในกรงนก เมื่อได้อาบน้ำแล้วนกจะมีความสุข อารมณ์ดี และร้องเพลงได้ดีหลังจากนั้นให้นำนกไปแขวนไว้ที่ชายคาบ้าน หรือราว หรือกิ่งไม้ไว้เหมือนเดิม เวลาประมาณ 15.00 - 16.00 น.ซึ่งจะเป็นแดดอ่อนๆ ไม่แรงมากนัก ให้นกได้ตากแดดอีกครั้ง ประโยชน์ของการตากแดดเพื่อให้นกสังเคราะห์วิตามินดีช่วยให้กระดูกแข็งแรง และเพื่อให้นกขนแห้งสนิท ฟูสวยงามเป็นเงาและไม่คันตัว กรงนกก็จะแห้งและไม่ขึ้นรา อายุการใช้งานของกรงก็นานขึ้น หลังจาก 16.00 น. ในช่วงใกล้ค่ำให้เก็บนกเข้าบ้าน ปิดผ้าคลุมกรงเพื่อให้นกพักผ่อนจังหวัดพิจิตรของเรามีการเลี้ยงนกกรงหัวจุกแทบทุกอำเภอ โดยเฉพาะที่อำเภอสากเหล็ก ตะพานหินและอำเภอเมือง และได้มีการจัดตั้งชมรมนกกรงหัวจุกขึ้น จะเห็นว่าการดูแลนกกรงหัวจุกนั้นไม่ยากหากเรามีความตั้งใจและรักที่จะเลี้ยง หากท่านใดสนใจการเลี้ยงนกกรงหัวจุกลองหารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากจากเอกสารอ้างอิงจะครับ